บทเรียนการประชุมวิชาการประจำปี HA National Forum ครั้งที่ 24Growth Mindset for Better Healthcare System
(ระบบบริการสุขภาพที่ก้าวหน้า ด้วยกรอบความคิดที่กว้างไกล)
เรื่อง พูดเรื่อง “คุณภาพ” อย่างไรให้เข้าใจตรงกัน Accredit toward to Non-Accredit
วันพฤหัสบดีที่ 14 มีนาคม 2567 เวลา 10.30 – 12.00 น.
ณ ห้องสัมมนา Sapphire 103-104 ศูนย์การประชุม IMPACT FORUM เมืองทองธานี

วิทยากร
รศ. ดร.สมิทธิ์ บุญชุติมา (คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
ผศ. ดร.สุกัญญา สมไพบูลย์ (คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

ความสำคัญของการสื่อสารภายในองค์กร การสื่อสารภายในองค์กรจะช่วยให้บุคลากรและองค์กรรู้สึกถึงความเชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียวกัน การสื่อสารภายในที่ดีสามารถช่วยให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น

แนวทางการสื่อสารเปลี่ยนสู่ความร่วมมือ มี 2 รูปแบบ คือ 1. การสื่อสารแบบแสดงความเหนือกว่า(Patronage) คือ การสื่อสารแบบมีการควบคุมอย่างเข้มงวด และ 2. การสื่อสารแบบพันธมิตร (Partner) คือ การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมและร่วมมือกัน

ในส่วนของการให้ความสำคัญกับข้อมูลที่ได้รับจากทีมงาน ควรกระตุ้นทุกคนในทีมให้มีส่วนร่วม  ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งหรือบทบาทใด และเปิดรับฟังมุมมองที่หลากหลาย โดยการฟังอย่างใส่ใจ เพื่อความเข้าใจและนำเอามุมมองและประสบการณ์ที่หลากหลายมาใช้ประกอบการตัดสินใจของทีม มีการกำหนดแนวทางในการดูแลผู้ป่วย นำระบบการรับข้อเสนอแนะอย่างสร้างสรรค์และสม่ำเสมอมาใช้ จะช่วยให้เกิดการแบ่งปันไอเดียและประสบการณ์ที่หลากหลาย ส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง สร้างพื้นที่เพื่อการสนทนาที่เปิดกว้าง เพื่อให้สมาชิกในทีมสามารถแสดงความคิดเห็น นำเสนอนวัตกรรม และแบ่งปันประสบการณ์ อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เปี่ยมด้วยความเคารพและการเรียนรู้ร่วมกัน

การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพเกิดจากการส่งเสริมให้องค์กรมีวัฒนธรรมแห่งการเปิดกว้าง ที่จะสร้างให้เกิดความคิดเห็นที่หลากหลาย ไม่ปิดกั้น รวมทั้งเกิดการสื่อสารที่เท่าเทียม นำไปสู่การสร้างความปลอดภัยทางจิตใจ สร้างสภาพแวดล้อมที่บุคลากรรู้สึกปลอดภัยที่จะพูดถึงความกังวลโดยไม่กลัวการถูกโต้กลับ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการนำระบบการให้ข้อคิดเห็นที่สร้างสรรค์มาใช้เพื่อให้มีการสื่อสารระหว่างผู้ปฏิบัติงานและฝ่ายบริหารอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมให้มีการทำงานเป็นทีมข้ามสาขาวิชาเพื่อให้ได้มุมมองที่หลากหลาย มีความโปร่งใสในการตัดสินใจ มีการประชุมทีมอย่างสม่ำเสมอ บุคลากรในองค์กรสามารถแสดงความคิดเห็นและเรียนรู้ร่วมกันได้ รวมทั้งการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะการสื่อสาร การฟังอย่างใส่ใจ และความเห็นอกเห็นใจให้กับผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่จะนำไปสู่การพัฒนาอย่างต่อเนื่องได้

การสื่อสารอย่างเห็นอกเห็นใจ (Emphatic Communication) การสื่อสารที่มีความเข้าใจและรับรู้ถึงความรู้สึกของผู้ป่วยเป็นสิ่งสำคัญ นั่นคือการฟังอย่างแท้จริง และตอบสนองด้วยความเห็นอกเห็นใจ การใช้หลักการสื่อสารอย่างเห็นอกเห็นใจ ควรคำนึงถึง 2 หลักการสำคัญ ได้แก่

  1. การฟังอย่างตั้งใจ ที่ต้องสังเกตทั้งวัจนภาษาและอวัจนภาษา
  2. การสะท้อนความรู้สึก คือ แสดงการตอบสนองอย่างเหมาะสม ไม่ขัดจังหวะ

อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ >> พูดเรื่อง “คุณภาพ” อย่างไรให้เข้าใจตรงกัน Accredit toward to Non-Accredit

ผู้บันทึกบทเรียน
นางสาวสุดารัตน์  พันธ์เถื่อน
งานจัดการความรู้ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

อ่านบทเรียน HA National Forum อื่น ๆ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.