โปสเตอร์นำเสนอผลงานความก้าวหน้
การจัดการความรู้ (Knowledge Management) คือ กระบวนการที่เป็นระบบในการบริหารจัดการให้คณะฯ มีความรู้สำคัญที่พร้อมใช้ เพื่อให้บุคลากรสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานประจำ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้รับบริการและคณะฯ รวมทั้งสนับสนุนการบรรลุวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายของคณะฯ โดยเฉพาะวิสัยทัศน์ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ในการเป็น “สถาบันทางการแพทย์ของแผ่นดิน ที่สร้างองค์ความรู้และบริการอันเป็นประโยชน์ต่อระบบสุขภาพระดับโลก” ซึ่งถูกกำหนดขึ้นในปี 2566
ปัจจุบัน คณะฯ ก้าวเข้าสู่ระยะการพัฒนาคุณภาพในระยะที่ 8 คือการสร้างองค์ความรู้และบริการอันเป็นประโยชน์ต่อระบบสุขภาพระดับโลก ในปี 2567 – 2570 ซึ่งงานจัดการความรู้มีหน้าที่โดยตรงในการขับเคลื่อนให้คณะ ฯ เกิดองค์ความรู้ โดยการส่งเสริม สนับสนุน การจัดการความรู้ของหน่วยงานทุกระดับ และคณะฯ อย่างเป็นระบบ ทั้งในงานด้านบริการ การศึกษา การวิจัย และการบริหารจัดการอย่างบูรณาการ เพื่อสร้าง ใช้ แบ่งปัน และจัดเก็บความรู้ที่สำคัญทำให้คณะฯ พัฒนาสู่ความเป็นเลิศอย่างยั่งยืน รวมถึงส่งเสริมให้เกิดวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) และแบ่งปันความรู้ทั้งภายในและภายนอกคณะฯ ผ่านกระบวนการจัดการความรู้ ซึ่งประกอบด้วย การแลกเปลี่ยน การรวบรวมและสร้าง การถ่ายทอดและแบ่งปัน การจัดเก็บ และการเผยแพร่ความรู้ โดยใช้กลยุทธ์การจัดการความรู้ (Siriraj KM Strategy) Link–Share–Learn เพื่อสื่อสาร สร้างความเข้าใจให้บุคลากรทุกพันธกิจ/ระบบงานในทุกระดับ…
…ความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญของจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพของคณะฯ จากเป้าหมายดังกล่าว ทำให้คณะฯ เกิดความร่วมมือกันเพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย และผู้รับบริการให้มีประสิทธิภาพ และเกิดความปลอดภัย ผ่านกระบวนการสำคัญคือ การจัดการความรู้ โดยเครื่องมือสำคัญที่ทำให้เกิดความร่วมมือของบุคลากรในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างองค์ความรู้ นั่นคือ ชุมชนนักปฏิบัติ (Community of practice : CoP)
Community of Practice หรือชุมชนนักปฏิบัติ เป็นกระบวนการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบของกลุ่มคนที่มีวัตถุประสงค์และเป้าหมายเดียวกัน เพื่อให้เกิดการตกผลึกและสร้างองค์ความรู้ที่ดีร่วมกัน โดยมีการผสมผสานความรู้และประสบการณ์ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit knowledge) ของผู้เข้าร่วมกลุ่ม กับองค์ความรู้ที่ดีที่ชัดแจ้งเป็นหลักฐานประจักษ์ (Explicit knowledge) จากภายในและภายนอกหน่วยงาน/องค์กร ช่วยกันหาคำตอบเชิงลึก เปิดโอกาสให้ทุกคนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สรุปให้เกิดเป็นสินทรัพย์ความรู้ (Knowledge assets) ที่สามารถนำไปใช้แก้ไขปัญหาได้จริง ในรูปแบบต่างๆ ซึ่งรูปแบบของ CoP ในศิริราช แบ่งเป็น 2 รูปแบบคือ CoP กลุ่มเฉพาะ และ CoP สหสาขา หรือ Siriraj CoP style เช่น Siriraj Concurrent Trigger Tool (SiCTT), Medication Reconciliation เป็นต้น
เข้าชมโปสเตอร์หน่วยงานอื่น ๆ ได้ที่ Link Virtual Exhibition