ถอดบทเรียนการประชุมวิชาการประจำปี HA National Forum ครั้งที่ 22
Towards Scaling Up and Resilience in Healthcare
เรื่อง “Patient’s Experience in COVID-19 Pandemic”
วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม 2565 เวลา 13.45 – 14.30 น.
รูปแบบผสมผสาน ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ และสถานที่
ณ อาคารอิมแพ็คฟอรั่ม อาคาร 4 ศูนย์การประชุมอิมแพ็ค ฟอรั่ม เมืองทองธานี

วิทยากร
รศ. นพ.ชเนนทร์ วนาภิรักษ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ผู้ดำเนินรายการ
อ.วราภรณ์ สักกะโต สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (สรพ.)

อ.วราภรณ์ สักกะโต กล่าวถึง หัวข้อการประชุมในครั้งนี้ Patient’s Experience in COVID-19 Pandemic หรือประสบการณ์ของผู้ป่วยในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) พร้อมแนะนำ รศ. นพ.ชเนนทร์ วนาภิรักษ์ จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเป็นกรรมการผู้เยี่ยมสำรวจของสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (สรพ.) เป็นอาจารย์แพทย์ผู้ได้รับอนุมัติบัตรพิเศษผู้เชี่ยวชาญทางด้านสูติกรรมมารดาและทารก เป็นบุคคลต้นแบบงานวิชาการ และได้รับรางวัล มากมาย ซึ่งล่าสุดได้รับรางวัลผู้ทำคุณประโยชน์และอุทิศตนให้กับงานควบคุมและป้องกันธาลัสซีเมียของประเทศ จากมูลนิธิโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียแห่งประเทศไทย โดยกล่าวเพิ่มว่า COVID-19 ยังเป็นเรื่องโรคอุบัติใหม่ที่ผู้ผ่านเหตุการณ์ด้วยตนเองจึงจะสามารถเล่าความรู้สึก ประสบการณ์ และสิ่งที่อยากจะบอกได้ ซึ่งประสบการณ์จากอาจารย์แพทย์ที่มีความรู้เรื่องโรค และมาตรฐานต่าง ๆ บทเรียนที่เกิดขึ้นย่อมทรงคุณค่าและสำคัญต่อบุคลากรทางสาธารณสุข เพื่อที่จะนำมาปรับปรุง หรือออกแบบวิธีทำงาน รวมทั้งเปลี่ยนความคิด ค่านิยม ในการที่จะทำสิ่งที่ดีและให้คุณค่าในจิตใจของตน

 รศ. นพ.ชเนนทร์ วนาภิรักษ์ กล่าวถึงการได้มาเป็นแพทย์ว่า อาจเกิดจากค่านิยมในวัยเด็กที่อยากให้ความช่วยเหลือผู้อื่น และจากที่ได้เห็นผู้ป่วยอาการดีขึ้นหลังจากไปหาหมอ ซึ่งจากบทบาทหน้าที่ต่าง ๆ ที่ได้ทำ คิดว่าการทำหน้าที่ในโรงพยาบาลแพทย์ควรชี้นำปัญหาให้กับสังคมได้ และจากการทำโครงการต่อเนื่องส่งผลให้ได้รับรางวัลโดยไม่คาดคิด ถึงแม้บางครั้งอาจารย์จะเคยเกิดความรู้สึกเหนื่อย ท้อ และทิ้งช่วงการทำสิ่งที่ตั้งใจไป แต่พบว่าสิ่งดี ๆ ที่ตั้งใจเหล่านั้นหยุดและไม่มีใครขับเคลื่อนต่อ ทำให้อาจารย์กลับมา resilience ตนเอง ด้วยกลไกของการใช้ค่านิยม ด้วยการพูดกับตนเองและให้พลังกับตนเอง เพื่อจะขับเคลื่อนสิ่งดี ๆ ขึ้นอีกครั้งว่า “ถ้าไม่ใช่เรา ก็ทำไม่ได้”

เมื่อครั้งที่อาจารย์ป่วยเป็น COVID-19 สายพันธุ์เดลต้า (delta) ขณะนั้นอาจารย์ยังไม่ได้รับวัคซีนในรอบแรกแม้จะเข้าเกณฑ์ผู้สูงอายุ เนื่องจากช่วงเดือนเมษายนจำนวนวัคซีนที่ส่งต่อไปยังจังหวัดต่าง ๆ มีน้อย และอาจารย์คิดว่าเป็นช่วงที่ไม่มีนักศึกษา ไม่ค่อยมีขึ้น OPD ส่วนใหญ่ lecture ผ่านระบบออนไลน์ จึงขอรอคิวฉีดวัคซีนรอบถัดไปในช่วงเดือนพฤษภาคม เพื่อให้บุคลากรด่านหน้าที่มีความจำเป็นมากกว่าได้รับวัคซีนก่อน โดยระหว่างนั้นอาจารย์มีการดูแลตัวเองอย่างดี อาจเรียกว่าอาบแอลกอฮอล์แล้วก็ยังได้ แต่สุดท้ายก็ ติดเชื้อ

อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ >> Patient’s Experience in COVID-19 Pandemic (62 downloads )

ผู้บันทึกบทเรียน
นางสาวชลิตา มิ่งขวัญ
งานจัดการความรู้ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.