สรุปประเด็นการประชุมวิชาการ CNMI Quality Forum 2023
ภายใต้ Theme “เส้นทางคุณภาพสู่มาตรฐานโรงพยาบาลระดับสากลผ่านประสบการณ์ 6 ปี โรงพยาบาลรามาธิบดีจักรีนฤบดินทร์” (Quality Journey to International Standards 6 years of experience from Ramadhibodu Chakri Naruebodindra Hospital)
วันที่ 30 พฤศจิกายน – 1 ธันวาคม 2566 เวลา 8.30 – 16.00 น.
ณ ห้องประชุม Auditorium อาคารศูนย์การเรียนรู้ สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ จ.สมุทรปราการ
เรื่อง “ประสบการณ์การตรวจรับรองคุณภาพมาตรฐานโรงเรียนแพทย์ระดับสากล : Academic Medical Center Hospital Standards ”
โดย อ. นพ.สุรพงศ์ เลิศธรรมเกียรติ (ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนแพทย์รามาธิบดี ฝ่ายการศึกษาระดับชั้นคลินิก)
Academic Medical Center (AMC) Hospital standards เป็นกระบวนการตรวจประเมินโดยใช้การสัมภาษณ์นักศึกษาแพทย์ แพทย์ประจำบ้าน แพทย์ประจำบ้านต่อยอด ซึ่งการตรวจประเมินโรงเรียนแพทย์เป็น principal site ที่มีการเรียนการสอนหลากหลายโปรแกรม สำหรับ postgraduate medical trainees โดยมีหลักเกณฑ์ต่าง ๆ เช่น บทบาทของผู้บริหาร แพทย์ ที่อยู่ในโรงพยาบาลนั้นมีส่วนช่วยในการเรียนการสอนมากน้อยเพียงใด มีบทบาทอย่างไรในการบริหารงานโรงพยาบาล มีสถานที่ในการจัดการเรียนการสอนที่ใดบ้าง รวมถึงสถานที่ในการทำงานแต่ละที่คิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของการทำงานทั้งปี
มีการตอบคำถามเกี่ยวกับการสอนต่าง ๆ เช่น patient safety ตามเกณฑ์ของแพทยสภาว่ามีการดำเนินการอย่างไรบ้าง
AMC ประกอบด้วย 2 หมวดย่อย คือ Medical Professional Education (MPE) คือ การ training โดยเน้นหลักสูตรแพทย์เป็นหลัก และ Human Subjects Research Program (HRP)
ในส่วนของมาตรฐาน MPE โรงพยาบาลมีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ นโยบาย ผู้ป่วย มาตรฐานการนำเข้า ผู้เรียน Staffs และมาตรฐานคุณภาพต่าง ๆ เช่น Quality of teaching, Policy compliance, Trainee Evaluation, Incident Occurrence report และ Mistreatment
ปัจจุบันมีการใช้มาตรฐานการศึกษา WFME : World federation for medical education
หนังสือมาตรฐาน JCI : Joint commission international Accreditation standards for hospital ประกอบด้วย 7 หมวด คือ
MPE.1 Governing body and leadership of the hospital ได้แก่ การบริหารโรงพยาบาล แนวทางองคาพยพต่าง ๆ ว่ามีนโยบายลงมาในเรื่องการศึกษาหรือไม่ ตามโครงสร้างขององค์กร
MPE.2 Clinical staff, patient population, technology and facility
MPE.3 Clinical teaching staff คุณสมบัติของอาจารย์แพทย์ผู้สอนมีอะไรบ้าง
MPE.4 Medical supervision แต่ละระดับอย่างไร
MPE.5 Operational mechanism and management structure คือ มีการจัดการคุณภาพการติดตามอย่างไร โดยมีคณะกรรมการจากหลากหลายสาขา เพื่อประเมินคุณภาพของ staff ที่มาสอนในโรงพยาบาล ความเพียงพอของ resource ต่าง ๆ เพื่อจัด training quality system, compliance และการจัดทำ annual report
MPE.6 Compliance of trainees with all hospital policies การทำตาม policy การทิ้งขยะปนเปื้อน การเข้าห้องคลอด เป็นต้น
MPE.7 Medical trainees who provide care or service within the hospital outside of academic program การจ้าง resident ภายนอกมาอยู่เวรตอนกลางคืน ซึ่งทางรามาธิบดี ไม่มีส่วนนี้
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ประสบการณ์การตรวจรับรองคุณภาพมาตรฐานโรงเรียนแพทย์ระดับสากล : Academic Medical Center Hospital Standards
สรุปประเด็น โดย นายเอกกนก พนาดำรง งานจัดการความรู้
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล