บทเรียนการประชุมงานมหกรรมคุณภาพ (Quality Fair) ประจำปี 2564
เรื่อง “Disease specific certification to the benefit of patient society & organization: Siriraj DM team”
วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน 2564 เวลา 14.30-15.30 น.
การถ่ายทอดสดด้วยสัญญาณภาพ/เสียง ผ่านระบบ online network

วิทยากร
อ.ผ่องพรรณ ธนา สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (สรพ.)
รศ. นพ.วีรชัย ศรีวณิชชากร อาจารย์ประจำภาควิชาอายุรศาสตร์
พญ.ลักขนา ปรีชาสุข แพทย์ประจำศูนย์เบาหวานศิริราช
พว.กันยารัตน์ วงษ์เหมือน งานการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช

ผู้ดำเนินการอภิปราย
อ. นพ.อัครินทร์ นิมมานนิตย์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพ
พว.นันทพร พ่วงแก้ว ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพ

อ. ผ่องพรรณ ธนา เล่าถึงการนำมาตรฐาน Disease specific certification (DSC) มาพัฒนาสถานพยาบาลว่า ในเรื่องของการพัฒนาคุณภาพ หรือการรับรองรายโรค มีการพัฒนากระบวนการมาอย่างยาวนานเพื่อสู่ความเป็นเลิศ ซึ่งเป้าหมายของ DSC คือ ค้นหา และยกย่อง Clinical Excellence ส่งเสริมการใช้ Improvement Science ในการดูแลผู้ป่วย โดยการเตรียมตัวรับรองคือการพัฒนาต่อเนื่อง และเป็นต้นแบบให้ผู้อื่นได้เรียนรู้ โดย DSC จะรับรองเกี่ยวกับ โรค หัตถการ ระบบงานและโปรแกรมต่าง ๆ เช่น Smoking session เป็นต้น โดยเรื่องเหล่านั้นควรเป็นเรื่องที่ Impact อย่างมีนัยสำคัญ ลักษณะสำคัญของระบบที่จะได้รับการรับรองคือ ต้องมีการจัดการกระบวนการอย่างเป็นระบบโดยใช้มาตรฐาน 1-6 การใช้ 3P ในการออกแบบระบบ ในด้านผลลัพธ์ต้องเกิดผลลัพธ์ที่ดี หรือมีแนวโน้มดีขึ้น มีการใช้ข้อมูลเทียบเคียงที่ท้าทาย มีการประเมินและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง มีระบบงานที่บูรณาการ เกิดนวัตกรรม หรืองานวิจัยจากงานประจำ หรือมีการสร้างองค์ความรู้ที่สำคัญ ท้ายที่สุดคือในกระบวนการต้องแสดงให้เห็นถึงกระบวนการที่ขจัดความสูญเปล่า ป้องกันความเสี่ยง ใช้หลักฐานทางวิชาการ รวมถึงการสร้างเสริมสุขภาพ และมิติด้านจิตวิญญาณ

เมื่อเข้าตรวจสอบหน้างาน และต้องการตรวจสอบ Integrated care นั้น ผู้เยี่ยมสำรวจจะใช้ Rainbow model ซึ่งเป็นการดูแลในลักษณะบูรณาการอันมีขอบเขตมากกว่าการประสานงาน จึงให้ความสำคัญกับการบูรณาการอันได้แก่ การดูแลที่ไร้รอยต่อ (Clinical integration) ความร่วมมือระหว่างวิชาชีพ (Professional integration) ความร่วมมือระหว่างองค์กร (Organization integration) นโยบาย การประเมิน การควบคุม การเงิน กำลังคน (System integration) ตัวช่วยด้านเทคนิค (Functional integration) และตัวช่วยด้านสังคม (Normative integration) อีก Model หนึ่งที่ใช้คือ Integrated People-centers Health Service เพื่อพิจารณาการออกแบบระบบ ที่สะท้อนถึงการมีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง โดยผู้ป่วยและญาติ ชุมชน มีส่วนรับรู้ และมีความเข้มแข็งในการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องได้ การออกแบบระบบต้องเป็นสากล ยอมรับได้ มีความเสมอภาค และระบบบริการเป็นระบบไร้รอยต่อ มีการประสานอย่างดี รวมไปถึงในเรื่องการออกแบบระบบนั้นต้องมีการสร้างเครือข่าย เสริมพลังสร้างความเข้มแข็งของผู้ปฏิบัติงาน รวมไปถึงในระดับองค์กรในเรื่องการ Share vision การสนับสนุนการเงิน ทรัพยากร เชื่อมไปสู่ส่วนอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการศึกษา การช่วยเหลือสังคม สิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปสู่ภาพรวมในระดับประเทศ อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ >> Disease specific certification to the benefit of patient society & organization: Siriraj DM team (155 downloads )

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.