บทเรียนการประชุมงานมหกรรมคุณภาพ (Quality Fair) ประจำปี 2566
เรื่อง “องค์กรเพื่อสิ่งแวดล้อม : Green workplace working towards sustainability”
วันพฤหัสบดีที่ 7 กันยายน 2566 เวลา 14.30-15.45 น.
ณ ห้องประชุมราชปนัดดาสิรินธร อาคารศรีสวรินทิรา ชั้น 1 และ
ถ่ายทอดสดผ่านระบบเน็ตเวิร์ค SiBN, IPTV, Facebook งานพัฒนาคุณภาพ

วิทยากร
คุณนิษฐา ภูษาชีวะ Associate Director SCG Building &
Living Care Consulting Co., Ltd.

ผศ. นพ.ธารา วงศ์วิริยางกูร
รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

ผู้ดำเนินการอภิปราย
รศ. นพ.มนวัฒน์ เงินฉ่ำ
ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพ
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

…ทำไมต้องการ green workplace เนื่องจากสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน ไม่ใช่องค์กรใดองค์กรหนึ่งที่จะผลักดันให้สภาวะวิกฤตเรื่องสิ่งแวดล้อมลดลง แต่เป็นหน้าที่ของทุกคน ซึ่งปัจจุบันโลกเกิดการเปลี่ยนแปลงจาก global warming เป็น global boiling คือ ปัจจุบันโลกไม่ได้แค่อุ่นขึ้น แต่โลกกำลังจะเดือด เนื่องจากฤดูร้อนในหลายประเทศร้อนขึ้นมาก จนในบางประเทศได้ระบุให้เป็นหนึ่งในภัยพิบัติ เช่น ประเทศญี่ปุ่นกำหนดให้มีระบบแจ้งเตือนคลื่นความร้อน กรณีเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินจะแจ้งเตือนบนมือถือ ให้เข้าพื้นที่ร่มโดยด่วน เป็นต้น ทั้งนี้จากผลกระทบของอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ คาดว่าในอนาคต 10-20 ปีข้างหน้า ประเทศไทยตอนบนอาจพบปัญหาเรื่องภัยแล้ง ไฟป่า หรือแผ่นดินถล่ม ในขณะที่ตอนล่างของประเทศ อาจเจอพายุ น้ำท่วม หรือแผ่นดินจมจากระดับน้ำทะเล เพราะผลกระทบจากน้ำแข็งขั้วโลกละลายส่งผลให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น และจากข้อมูลทั่วโลก พบว่าอาคารที่อยู่อาศัยหรืออาคารที่ใช้งานในปัจจุบันมีการปลดปล่อยคาร์บอนหรือก๊าซเรือนกระจกมากถึง 40% ของการปลดปล่อยทั้งหมด โดย 27% เกิดจากการใช้งาน เช่น การเปิดไฟ เปิดแอร์ ใช้น้ำ หรือใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ดังนั้นถ้ามีการควบคุม เตรียมการออกแบบ บริหารจัดการ หรือ operate อาคารให้มีความยั่งยืนมากขึ้น จะช่วยลดการปลดปล่อยคาร์บอนลงได้ สำหรับส่วนที่เหลือ 6% และ 7% พบว่าเกิดจากกระบวนการก่อสร้าง ทาง SCG จึงได้ดำเนินการทำเรื่องของการลดคาร์บอนในวัสดุ เพื่อเป็นการช่วยในภาคส่วนของต้นน้ำและผู้ใช้งานอาคาร

แนวโน้มเรื่องความยั่งยืน green workplace หรืออาคารเขียว เริ่มมาจาก sustainability โดย workplace จากองค์กรต่างประเทศที่เข้ามาในประเทศไทยเริ่ม concern เรื่องของสิ่งแวดล้อม นอกเหนือจากการทำธุรกิจให้ได้กำไรบริษัทจะต้องมีการ operate ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้บริษัทที่รับสร้างอาคารนำมาเป็นกลยุทธ์ในการดึงดูดองค์กรต่าง ๆ เพื่อให้เห็นถึงประสิทธิภาพที่ดีของตัวอาคาร และจากสถานการณ์โควิด-19 (COVID-19) ส่งผลให้เกิดการขับเคลื่อนในเรื่อง well-being การใช้เทคโนโลยีหรือกระบวนการจัดการอาคารให้คนเกิดความมั่นใจว่า เมื่อเข้ามาภายในอาคารแล้วจะไม่ติดโควิด-19 (COVID-19) หรือมีอาการป่วย และจากการประชุม COP26 (การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2564) ประเทศไทยได้ประกาศเป้าหมายสำคัญ ในการก้าวสู่สังคมปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ net zero ภายในปี 2065 จึงทำให้หลายองค์กรในประเทศเกิดความสนใจในกระบวนการบริหารจัดการอาคาร เพื่อลดการปลดปล่อยคาร์บอน

อ่านบทความ องค์กรเพื่อสิ่งแวดล้อม : Green workplace working towards sustainability เพิ่มเติม

ผู้บันทึกบทเรียน
นางสาวชลิตา มิ่งขวัญ
งานจัดการความรู้

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.