บทเรียนการประชุมงานมหกรรมคุณภาพ (Quality Fair) ประจำปี 2566
เรื่อง “การสร้างสุขภาวะและความเป็นอยู่ที่ดี : Human Well-being and Capabilities”
วันพฤหัสบดีที่ 7 กันยายน 2566 เวลา 13.00-14.15 น.
ณ ห้องประชุมราชปนัดดาสิรินธร อาคารศรีสวรินทิรา ชั้น 1 และ
ถ่ายทอดสดผ่านระบบเน็ตเวิร์ค SiBN, IPTV, Facebook งานพัฒนาคุณภาพ

วิทยากร
รศ. ดร.อรนุช พฤฒิพิบูลธรรม
รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)

อ. นพ.ชนินทร์ ลิ่มวงศ์
รองคณบดีฝ่ายทรัพยากรบุคคล
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการอภิปราย
ผศ. นพ.บวรรัฐ วนดุรงค์วรรณ
ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพ

รศ. ดร.อรนุช พฤฒิพิบูลธรรม ให้แนวคิดเกี่ยวกับ Well-being หรือความสุขว่ามีปัจจัยอะไร และจะบริหารจัดการอย่างไรให้องค์กรมีความสุข ซึ่งมีทั้งการจัดการระดับองค์กร กระบวนการ และระดับบุคคล โดยมีหลักการในการตั้งเป้าหมายเพื่อให้องค์กรมีความสุข คือ
การตั้งเป้าหมายด้านองค์กร (Organization level)
– ต้องเป็นองค์กรที่เลี้ยงตัวเองได้ มีกำไร ลดค่าใช้จ่าย
– มีกระบวนการต่าง ๆ ที่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล
– สร้างผลกำไร
– สร้างความผูกพันระยะยาว
– สร้างความยั่งยืน ภาพลักษณ์ที่ดี
ด้านกระบวนการ (Process level)
– การตั้งเป้าหมายเพื่อสนับสนุนด้านต่าง ๆ เช่น สร้างสุขภาพกายใจดี เสริมรายได้ ลดหนี้ ลดความเครียด สร้างความสามัคคี
– ยกระดับความพึงพอใจ การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การได้รับการยอมรับ การได้แสดงออกซึ่งความคิดเห็น
– พนักงานได้รับการดูแลด้วยผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพ ไม่แตกต่างจากที่ลูกค้าได้รับ
– มีเจ้าภาพในกระบวนการสร้างความสุข
ด้านบุคคล (Job level)
– ชีวิตการงานและส่วนตัวที่ดี ทีมดี นายดี เพื่อนดี สร้างสภาพแวดล้อมกัลยาณมิตร
– การตระหนักรู้ความสำคัญของการสร้างสุข เป็น key success factor
– ได้รับงานที่ท้าทาย โอกาสในการเติบโต ในขณะเดียวกันก็มีความสมดุลของชีวิตส่วนตัวและงาน

ผลงานวิจัยของ National Health Service (NHS) พบว่าหลังเกิดเหตุการณ์ COVID-19 พนักงานมีอาการซึมเศร้าเพิ่มมากขึ้นเมื่อเทียบกับสถานการณ์ก่อนการระบาด โดยมีการเสนอแนะการจัดการ คือ มีการปรับปรุง staff experience การอบรมและการสนับสนุนต่าง ๆ ต้องมอบหมายบทบาทที่หลากหลาย ท้าทาย สามารถบริหารจัดการเวรได้ด้วยตนเอง การสนับสนุนด้านเทคโนโลยี เป็นต้น
ปัจจัยที่ทำให้บุคลากรมีความสุข คือ
– Autonomy ต้องการอำนาจในการตัดสินใจ อิสระ ความยุติธรรม สามารถบริหารจัดการเวรได้ด้วยตนเอง
– Belonging ความสัมพันธ์ที่ดี การทำงานเป็นทีม วัฒนธรรมองค์กร
– Contribution ความรู้สึกว่าได้ให้อะไรกับสังคม คือการมีภาระงานที่สมดุล การบริหารจัดการ การฝึกอบรม การมีคนคอยช่วยเหลือดูแล

อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ >> การสร้างสุขภาวะและความเป็นอยู่ที่ดี : Human Well-being and Capabilities (24 downloads )

ผู้บันทึกบทเรียน
นางสาววิจิตรา นุชอยู่
งานจัดการความรู้

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.