บทเรียนการประชุมวิชาการคุณภาพ (Quality Conference) ครั้งที่ 4/2566
เรื่อง “How to use ChatGPT and Bard for happier life in R2R”
วันพุธที่ 20 ธันวาคม 2566 เวลา 13.00 – 15.00 น.
ณ ห้องประชุมอทิตยาทรกิติคุณ ตึกสยามินทร์ ชั้น 7
และถ่ายทอดสดด้วยสัญญาณภาพ/เสียงผ่านระบบเน็ตเวิร์ค (SIBN)

วิทยากร
นพ.ปิยะฤทธิ์ อิทธิชัยวงศ์  นักเรียนทุนนวเมธีศิริราช

…..Google Gemini เป็น version ของ Google ที่พัฒนาต่อมาจาก Bard โดยจากแบบทดสอบ MMLU (Massive Multitask Language Understanding) ที่นำผลทดสอบที่ดีที่สุดในแต่ละสาขาวิชา เช่น ฟิสิกส์ คณิต แพทย์ ฯ มารวมคะแนน พบว่ามนุษย์ได้ค่าเฉลี่ยที่ 89.8%, Google Gemini สามารถทำได้ที่ 90.04% และ GPT-4 (Generative Pre-trained Transformer 4) สามารถทำได้ที่ 90.10% แต่ผลที่ได้อาจไม่สามารถบอกได้ว่า AI เก่งกว่ามนุษย์ เนื่องจากเป็นแบบทดสอบแบบปรนัย แต่สามารถบอกได้ว่า AI นั้นมีความรู้ในระดับหนึ่งอย่างแน่นอน และในทางการแพทย์ ถ้าเป็นข้อมูลที่นอกเหนือจาก MCQ (multiple choice question) ระบบ AI อาจไม่แม่นยำมาก โดยเฉพาะข้อมูลภาษาไทยที่ปนกับภาษาอังกฤษ เนื่องจากจำนวนข้อมูลภาษาไทยที่ลงสู่ระบบ AI ยังมีน้อย

ข้อจำกัดของ AI

  1. Limited knowledge เนื่องจากในการ trend หรือเรียนรู้ของระบบ AI จะมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการสูง ทำให้ไม่สามารถทำได้บ่อย แต่ปัจจุบันมีการบูรณาการร่วมกับ search engine ทำให้วิเคราะห์ข้อมูลได้เกือบ real time แต่ยังมีข้อจำกัดในบางเรื่อง ดังนั้นถ้าต้องการค้นหาข้อมูลทั่วไป ให้ใช้ search engine โดยตรงจะแม่นยำในการค้นหามากกว่า
  2. Bias เช่น ถ้าสอบถามข้อมูลยารักษาโรค ระบบ AI จะขึ้นข้อมูลของยาในประเทศยุโรปเป็นหลัก ถึงแม้จะระบุว่าผู้ป่วยเป็นคนไทย ซึ่งอาจทำให้ได้คำแนะนำไม่ถูกต้องได้ จึงควรระมัดระวังในการ Bias ของระบบ
  3. Errors ระบบ AI สามารถเกิด errors ได้เช่นเดียวกับมนุษย์
  4. Copyright infringement ในอดีต การ trend หรือเรียนรู้ของระบบ AI อาจมีการนำหนังสือที่มีลิขสิทธิ์มาใช้ แต่ปัจจุบันมีการอ้างอิงว่าได้ซื้อลิขสิทธิ์ทั้งหมดมาอย่างถูกต้องแล้ว

ทั้งนี้ถ้าประเทศไทยนำ AI มาใช้ อาจพบว่า ข้อมูลหรือการอธิบายทางการแพทย์ยังไม่แม่นยำ เนื่องจากข้อมูล AI ที่มี ณ ปัจจุบันส่วนมากเป็นการอ้างอิงจากอเมริกา แต่ปัจจุบันทางทีมได้ร่วมมือกับหลายภาคส่วนทำ PreceptorAI ซึ่งเป็นการพัฒนาข้อมูล AI โดยเน้นภาษาไทยเป็นหลัก และมีการเปรียบเทียบผลกับ Google Gemini และ GPT-4 อย่างต่อเนื่อง พบว่าถ้าในข้อมูลที่เป็นภาษาไทย หรือมีภาษาไทยผสม ผลคะแนนเฉลี่ยของ PreceptorAI จะสูงกว่า และอธิบายข้อมูลได้แม่นยำกว่า

อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ How to use ChatGPT and Bard for happier life in R2R 

สามารถดาวน์โหลดเอกสารประกอบการประชุมวิชาการได้ที่
เว็บไซต์ของงานพัฒนาคุณภาพ ในส่วนของ เมนู Download เอกสาร
www.si.mahidol.ac.th/th/division/soqd

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.